ทั่วไป

โครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษากองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565

สำนักพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ได้จัดโครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาผู้กู้กองทุนกยศ. สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2565 ในวันอังคาร ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ณ หอประชุมวันมูหะมัดนอร์ มะทา โดยได้รับเกียรติจาก คุณอภิดล ตนภักดี ผู้จัดการสำนักงานเขต 1 สำนักงานเขตยะลา กล่าวให้โอวาทแก่น้องๆนักศึกษา ร่วมฟังการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการชำระหนี้ การออม และการสร้างจิตสำนึกในการชำระหนี้คืน โดย อาจารย์สรันดร์ วรากุลสลาม ผู้จัดการบริหารส่วน ศูนย์ประจำจังหวัดยะลา ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย การจัดโครงการในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่นักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาให้ตระหนักในการชำระหนี้คืนกองเงินทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา อีกทั้งเพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้กับรุ่นน้องได้กู้ยืมเงินกองทุนฯ ที่รุ่นพี่ได้ชำระคืน จัดโดย กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สำนักพัฒนาศักยภาพนักศึกษา มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

สอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ระดับ​ปริญญาเอก​ ของนักศึกษา​ Mr.Sarip bin​​ Hamid และ​ ​Mr.Ashari bin​ Abu​ Hasan​ จากประเทศมาเลเซีย

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ทางหลักสูตรปรัชญาดุษฎี​บัณฑิต​ สาขาวิชาอิสลามศึกษา​ คณะอิสลามศึกษาเเละนิติศาสตร์​ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้สอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ระดับ​ ป.เอก​ ของนักศึกษา​ Mr.Sarip bin​​ Hamid และ​ ​Mr.Ashari bin​ Abu​ Hasan​จากประเทศมาเลเซีย

อบรมการประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัย

บุคลากรสำนักงานสภามหาวิทยาลัยเข้าร่วมการอรบรมโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประชาสัมพันธ์หน่วยงานเข้าสู่ระบบเว็บไซต์มหาวิทยาลัย จัดโดย กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี โดยมีนายนัซมี สาและ เจ้าหน้าที่ดูแลระบบสารสนเทศ สำนักวิทยบริการเป็นวิทยากร ในวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องคอมพิวเตอร์ ชั้น 5 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

ขอแสดงความยินดีกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนีและรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย

ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี และ ศาสตราจารย์ ดร.ซาการียา หะมะ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย เนื่องในโอกาสได้รับการแต่งตั้งเป็น คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ (ด้านศาสนา) จากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยทางสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ประกาศบัญชีรายชื่อ ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณ(เฉพาะด้าน) ตามหนังสือเวียนเลขที่ อว 0209.5/ว 1518 ลงวันที่ 25/01/2566

เปิดอาคาร Saleh Ali Hamoud Al-Shaya Faculty of Information System State of Kuwait อย่างเป็นทางการ

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.30 น. มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้กำหนดให้มีพิธีเปิดอาคาร Saleh Ali Hamoud AI-Shaya Faculty of Information System State of Kuwait โดยได้รับเกียรติจาก ประธานในพิธี Faisal Bin Mohammed Al-shaya (ผู้บริจาค) และ Abdul Rahman Bin Jamal Al-Haddad ประธานมูลนิธิซานาเบล อัล ไคร์ (مبرة سنابل الخير) ประเทศคูเวต โดยได้รับเกียรติจากรองเลขาธิการ ศอ.บต. (ผู้แทนท่านเลขาธิการ ศอ.บต) นายอำเภอยะรัง ตัวแทนมูลนิธิเพื่อการอุดมศึกษาอิสลามภาคใต้ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาและแขกที่มาร่วมงานร่วมกันเป็นสักขีพยานในพิธีเปิดอาคารในวันนี้

ประกาศรับสมัครงานบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ เจ้าหน้าที่บริการประจำศูนย์คอมพิวเตอร์ สำนักวิทยบริการ จำนวน 1 อัตรา

ประกาศรับสมัครงานบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ เจ้าหน้าที่บริการประจำศูนย์คอมพิวเตอร์ สำนักวิทยบริการ จำนวน 1 อัตรา ดาวน์โหลดใบสมัคร

มฟน.ใช้วิจัยเพื่อพัฒนา 16 โรงเรียนสอนศาสนาสงขลานำร่อง นวัตกรรมภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสาร เพื่อร่วมยกระดับภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสาร

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 ณ โรงเรียนบุสตานุดีน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ผศ.ดร.มูฮามัสสกรี มันยูนุ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์และคณะ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้ร่วมปรึกษาหารือกับนายประพัทธ์ รัตนอรุณ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) หรือชาวบ้านเรียกว่า สช. ในฐานะประธานในพิธีเปิดโครงการ อบรม “นวัตกรรมภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสาร เพื่อร่วมยกระดับภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสาร สนับสนุน 16 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลาที่นำร่อง” และเรียนนายกสมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้ สมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา วิทยากร สำนักงานการศึกษาเอกชนในพื้นที่ คณะผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยได้ยืนยันว่า ทางมหาวิทยาลัยจะร่วมพัฒนาโครงการนี้ ในส่วนของการนำการวิจัยและประเมินโครงการตลอดสามปี เพื่อพัฒนาให้สามารถเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการอบรมโครงการดังนี้ 1.เพื่อให้ครูมีทักษะการสอนที่เข้าใจบริบทของนักเรียน และมีทักษะในการสอนภาษาอาหรับ มีกิจกรรมประกอบการสอน มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอน และสามารถควบคุมการจัดการเรียนการสอนในคาบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.เพื่อให้ครูสามารถประยุกต์ใช้ทักษะภาษาอาหรับที่กำลังฝึกฝนในหลักสูตรในขณะอบรม 3.เพื่อให้ครูนำทักษะที่ได้รับไปใช้จริงในการสอนนักเรียนในโรงเรียน 4.เพื่อให้ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการจัดตั้งกลุ่ม Whats App เพื่อความร่วมมือ ติดตาม ตอบข้อซักถาม และใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง 5.เพื่อให้เกิดโรงเรียนนำร่อง “นวัตกรรมภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสาร” ในจังหวัดสงขลาและหวังว่าเป็น Model ต่อที่อื่นๆ การอบรมจะไม่ส่งผลต่อผู้เรียนและบรรลุวัตถุประสงค์ได้หากไม่นำผลของการอบรมนำไปใช้ในโรงเรียนในขณะเดียวการวิจัยและประเมินผลจะช่วยให้วัตถุประสงค์บรรลุดียิ่งขึ้นและสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save